พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไหนดี
ReadyPlanet.com
dot
dot


พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไหนดี
วันที่ 06/05/2013  13:46:48 PM ,ผู้เข้าชม : 7134

พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไหนดี?

ภาษาอังกฤษ สำเนียงอเมริกัน กับสำเนียงอังกฤษ คุณชอบอันไหนมากกว่า?”

“ถามหน่อย มีใครพอรู้บ้างว่า สำเนียง ออสเตรเลีย กับ British นี่เหมือนกันป่าว?? (หรือต่างกัน ><)”

อยากพูดภาษาอังกฤษสำเนียงได้ทำไงดี

“คือ เราอยากพูดภาษาอังกฤษให้เป็นสำเนียงอ้ะ เวลาอัดเสียงตัวเองพูดภาษาอังกฤษแล้วคิดในใจ สำเนียงเรามันไม่ได้เรื่อง ห่วยแตกแท้ๆ มันทำให้เราท้อใจนิดๆ นะ.......คือหลายๆคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นสำเนียงได้ เขาพูดกันยังไง? (เราเคยไปฝึกภาษานะ แต่กลับมา ก็งูๆปลาๆ อยู่ดี) เราก็ชอบดูหนังฝรั่งแบบฟังโดยแบบเสียงในฟิล์มเลย แล้วเราก็จำสำเนียงเขามาแต่มันก็ห่วยเหมือนเดิม

 

ข้างต้นนี้เป็นหัวข้อกระทู้จากในหลายๆฟอรั่มที่ขอยกเป็นตัวอย่างให้เห็นว่านักเรียนไทยในบ้านเรานั้นนอกจากต้องการที่จะพูดภาษาอังกฤษให้ได้แล้วยังมีความกังวลเรื่อง “สำเนียง” ว่าต้องพูดภาษาอังกฤษสำเนียงไหนดี

เท่าที่เราคุ้นชินกันมาตั้งแต่เด็กๆ นักเรียนควรพูดภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามแบบ American Accent หรือ British Accent แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ นักภาษาศาสตร์และบรรดาครูสอนภาษาอังกฤษทั้งหลายได้หันมาตั้งคำถามแล้วว่าการใช้ต้นแบบการออกเสียงของเจ้าของภาษา (Native Speakers) เช่น American English หรือ British English เป็นหลักในการสอนการออกเสียงนั้นยังคงใช้ได้ในยุคปัจจุบันนี้หรือไม่

 

ดร. Jennifer Jenkins อาจารย์ด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistics)และสัทศาสตร์ (phonology) จากประเทศอังกฤษ ได้ทำการวิจัยและศึกษาเรื่องแนวทางการสอนการออกเสียงภาษาอังกฤษในยุคที่ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาสากล (Global English) ให้คำตอบเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

 

ภาษาอังกฤษสากล (Global English) คืออะไร  

ดร. Jennifer ได้อธิบายไว้ว่า คำว่า Global English ปัจจุบันนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย คำว่า Global English หมายถึง ภาษาอังกฤษที่ได้ถูกใช้แพร่หลายไปทั่วทุกแห่งในโลกนี้ ทั้งในกลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก เช่น ในอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น และในกลุ่มคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกด้วย

พูดง่ายๆก็คือว่า ปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษจึงไม่ได้มีไว้สำหรับใช้พูดเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของภาษา (Native Speakers) เท่านั้น แต่ยังใช้สื่อสารกันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา (Non-Native Speakers)ด้วย ซึ่งในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากในโลกยุคปัจจุบัน โดยจากทั่วโลกคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 1.5 พันล้านคน และนี่คือที่มาของคำว่า Global English ซึ่งหมายถึง ภาษาอังกฤษที่มีฐานะเป็นภาษาสากลนั่นเอง

 

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างสถานการณ์ตัวอย่างดังนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวฟินแลนด์เดินทางไปประชุมที่เวียนนา ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียนไปเจรจากับลูกค้าที่สตอกโฮม นักธุรกิจเกาหลีติดต่อธุรกิจกับนักธุรกิจชาวอินโดนีเซีย นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวและแวะซื้อของในร้านขายของที่ระลึกที่เวียดนาม จะเห็นได้ว่า คนเหล่านี้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก พวกเขาเหล่านี้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และสื่อสารกันอย่างเข้าใจ แต่แน่นอนว่าคงไม่ใช่ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันหรือบริติช อิงลิช ที่เราเคยได้ยินหรือเห็นในภาพยนตร์หรือรายการข่าว แต่เป็นภาษาอังกฤษที่ใช้เพื่อการสื่อสารเป็นหลักหรือที่เรียกว่า Global English

 

แล้วเราควรเรียนการออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างไร

ดร. Jennifer มีความสนใจในเรื่อง Global English จึงได้ทำการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างผู้พูดที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา (non-native speakers) เพื่อดูว่าลักษณะการออกเสียงใดบ้างที่สำคัญและไม่สำคัญในการสื่อสาร และจากงานวิจัยของ ดร. Jenifer ได้สรุปถึงแนวทางการเรียนการสอนการออกเสียงภาษาอังกฤษไว้ดังนี้

ควรเน้นการสอนการออกเสียงที่มีเป้าหมายเพื่อการสื่อสารในบริบทที่มีความเป็นนานาชาติระหว่างผู้พุดที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา ที่ผ่านมา การสอนการออกเสียงเน้นไปที่ทำอย่างไรให้นักเรียนออกเสียงใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากที่สุด แต่ในยุดที่ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาสากล การสอนการออกเสียงที่เน้นการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลมากที่สุดคือเป้าหมายที่แท้จริง


จากผลการวิจัยพบว่า ลักษณะบางอย่างในการออกเสียงไม่ได้มีผลต่อการสื่อความหมาย เช่น การออกเสียง ‘th’ ใน ‘three’ หรือ ‘this’ พบว่าหากผู้พูดไม่ได้พูดเหมือนกันเจ้าของภาษาก็ไม่ได้มีผลต่อความหมายในการสื่อสารแต่อย่างใด และอีกประการที่สำคัญ ในเมื่อเจ้าของภาษา (native speakers) ยังมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ภูมิภาคที่เจ้าของภาษาอาศัยอยู่ เช่น ภาษาอังกฤษของคนอังกฤษ ภาษาอังกฤษของคนออสเตรเลีย ภาษาอังกฤษของคนอเมริกันก็ย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ผู้เรียนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษาจะมีสำเนียงที่หลากหลายบ้าง

 

นักเรียนควรมีโอกาสได้ฟังสำเนียงภาษาอังกฤษที่หลากหลายไม่ควรจำกัดเฉพาะสำเนียงของเจ้าของภาษาเท่านั้น เพราะในยุดที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล การได้คุ้นเคยกับสำเนียงที่แตกต่างย่อมทำให้ผู้เรียนมีทักษะฟังและเข้าใจสำเนียงที่หลากหลายได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

บทส่งท้าย

ดร. Jennifer ได้กล่าวไว้ว่า ปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาสากล กลายเป็นภาษากลางของโลกใบนี้ และไม่ได้สงวนสิทธิ์ไว้สำหรับผู้พุดที่เป็นเจ้าของภาษา (native speakers) เท่านั้น การเรียนการออกเสียงคงไม่สามารถจำกัดไว้ว่าต้องเป็นแบบ American หรือ British Accent อีกต่อไป

 

เกี่ยวกับ Dr. Jennifer Jenkins

ดร. Jennifer Jenkins จบการศึกษาด้านปริญญาตรี โท และเอกทางด้าน English language and literature, Old Icelandic, and linguistics/applied linguistics จาก Universities of Leicester, Oxford, and London ตามลำดับ 

ดร. Jennifer ทำงานสอนและวิจัยที่หลักสูตรปริญญาโททางด้าน ELT และ Applied Linguistics ที่ King’s College, Londonตั้งแต่ปี 1992 ถึงปี 2002 และปัจจุบัน สอนอยู่ที่ Southampton University ประเทศอังกฤษ

หัวข้องานวิจัยที่สนใจคือ Global Englishes และภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง

 

SMU เตรียมออกTranscript รูปแบบใหม่ นำเอากิจกรรมนอกห้องเรียน + ทักษะ (Skills) ของนักศึกษามาแสดงในTranscript
6 โรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในสิงคโปร์ – เรียนสิงคโปร์ดอทคอม
NUS ติดอันดับ 2 มหาวิทยาลัยในเอเชียปี 2023
สิงคโปร์เตรียมปรับขึ้นเงินเดือนครูปฐมวัย 10%-30%
การเทียบวุฒิ ม.6 สำหรับนักเรียนไทยที่เรียนจบจากสิงคโปร์
ทำไมสิงคโปร์จึงมีความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษดีเป็นอันดับต้นๆของโลกและเป็นอันดับ 1 ของเอเซีย
Tips เตรียมภาษาอังกฤษก่อนเรียนตรีโทที่สิงคโปร์
ความสำเร็จด้านการศึกษาของสิงคโปร์และการเตรียมประชากรสิงคโปร์สู่ยุคศตวรรษที่ 21 สิงคโปร์
มหาวิทยาลัยของสิงคโปร์ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของภูมิภาคเอเชีย
Singapore National Day 2017 วันชาติสิงคโปร์
Hawker centre ศูนย์อาหารสำหรับนักเรียนไทยในสิงคโปร์ (ตอน 2)
Hawker centre ศูนย์อาหารสำหรับนักเรียนไทยในสิงคโปร์ (ตอน 1)
เรียนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์ เหมาะกับใคร ?
JCU Alumni Night 2016 Bangkok
ทำไมสิงคโปร์จึงก้าวเป็นอันดับ 1 ของโลกด้านการศึกษา
พาไปเที่ยวห้องสมุดสาธารณะที่สิงคโปร์
ท่องจำกันมา ขาดความคิดสร้างสรรค์
เทศกาลตรุษจีนที่สิงคโปร์
พูดภาษาอังกฤษให้ได้ใน 90 วัน
ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของสิงคโปร์อยู่อันดับ 2 ของโลก สำรวจโดย EF 2023
เล่าเรื่องครู
การศึกษาสร้างประเทศสิงคโปร์