กำลังเรียนอยู่ม.6 จบแล้วอยากเร...
ReadyPlanet.com


กำลังเรียนอยู่ม.6 จบแล้วอยากเรียนต่อที่สิงคโปร์ค่ะ


 ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ชั้นม.6 พื้นฐานภาษาอังกฤษปานกลาง อยากเรียนต่อบัญชี กำลังตัดสินใจว่า จบแล้วจะเรียนต่อโดยไปเรียนโพลีก่อน 3 ปี แล้วค่อยต่อมหาวิทยาลัย หรือ จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปเลยดีคะ 

แล้วก็อยากทราบว่าทั้งสองตัวเลือกนี้ ควรจะเริ่มต้นเดินเรื่องอย่างไร ใช้เอกสารหรือผลสอบอะไรบ้าง ระยะเวลาเริ่มสมัครสอบอยู่ในช่วงไหน รบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ธนวรรณ :: วันที่ลงประกาศ 2016-06-13 21:00:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3033178)

สวัสดีครับ

         1.  ทางเลือกแรก คือ เรียนโพลีก่อน 3 ปี แล้วยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยรัฐ หากเลือกทางนี้คุณจะเสียเวลาเรียนโพลี 3 ปี จากนั้นพอยื่นเข้ามหาวิทยาลัยรัฐ เช่น NUS , NTU , SMU คุณจะต้องไปยื่นเพื่อเรียนปี 1 ใหม่ ไม่สามารถขอเทียบโอนรายวิชาได้ ยกเว้นคุณไปสมัครเรียนต่อ SIT ซึ่งนักศึกษาที่จบโพลีฯมา จะได้รับการเทียบโอนรายวิชาจากโพลีฯ ไปเรียนต่อปริญญาตรี ทำให้คุณไม่ต้องไปนับ 1 ใหม่ในการเรียนต่อ ป.ตรี    

        การเข้าโพลีฯคุณสามารถใช้วุฒิ ม.6 สมัครเรียนได้ แต่คุณต้องไปเช็คเงื่อนไขโพลีฯแต่ละแห่งว่า เขา รับเกรดเฉลี่ยตอนจบ ม.6 เท่าไร เพราะแต่ละแห่งกำหนดไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกันคือ หากคุณผ่านขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติจากใบสมัครและผลคะแนนที่ยื่นมาแล้ว ทางโพลีฯจะเรียกตัวคุณสอบข้อเขียนอีกครั้ง ก่อนพิจารณาว่าจะรับนักศึกษาเข้าเรียนหรือไม่ นอกจากนี้หลังจากคุณเรียนจบโพลีฯแล้ว ใช่ว่าจะเข้า มหาวิทยาลัยรัฐได้โดยอัตโนมัติ เพราะมันขึ้นอยู่กับผลการเรียนตอนจบด้วย โดยปกตินักศึกษาโพลีฯที่มีคะแนนดีที่สุด 20% ของแต่ละรุ่น จะได้เข้าเรียนต่อ ม.รัฐครับ ที่เหลือก็กระจายไปเรียนเอกชนแทนครับ

        การสมัครเรียนต่อโพลีฯ โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับสมัครราวเดือน ก.ค.นี้ครับ        

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2016-06-14 10:32:19


ความคิดเห็นที่ 2 (3033180)

        2.  ทางเลือกสอง คือ จบ ม.6 สมัครเรียนต่อ ม.รัฐสิงคโปร์เลย หากเลือกทางนี้คุณเตรียมตัวสอบข้อสอบมาตรฐานสำคัญๆดังนี้ คือสอบ SAT และสอบ IELTS หรือ TOEFL ตัวใดตัวหนึ่ง เพื่อใช้ยื่นตอนสมัครเรียนครับ อย่างไรก็ตามคุณลองเช็คดูด้วยครับว่า บางมหาวิทยาลัย เช่น NUS อาจต้องการมากกว่านั้นคือ สอบ SAT แบบรายวิชาด้วย

        อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ การสอบต่างๆ คุณควรวางแผนการสอบเพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ เพราะการเข้า ม.รัฐสิงคโปร์ เข้ายาก มีการแข่งขันสูงมาก ดังนั้นยิ่งคุณยื่นคะแนนสอบสูงมากเท่าไร โอกาสที่จะถูกตอบรับเข้าเรียนก็มีสูงมากเท่านั้น

        การรับสมัครของกลุ่ม ม.รัฐ จะเปิดรับสมัครตั้งแต่ ต.ค - ม.ค.ของแต่ละปี เพื่อเริ่มเรียนต่อในเดือน ส.ค. เป็นต้น  

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2016-06-14 10:40:26


ความคิดเห็นที่ 3 (3033190)

        3.  ทางเลือกที่สาม แนะนำสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยเจมส์ คุก (James Cook University) เป็น ม.รัฐประเทศออสเตรเลีย แต่มีวิทยาเขต (campus) ของ ม.ที่สิงคโปร์ด้วย

        ที่นี่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขา Business เอก Accounting เป็นหลักสูตร 3 ปี

        แต่นักศึกษาสามารถใช้เวลาเรียนจบได้ภายใน 2 ปี หากเรียนไม่ตกเลย

        เพราะ ม. กำหนดให้นักศึกษาวิทยาเขตสิงคโปร์ สามารถลงเรียนได้ 3 เทอมต่อปี

        ทำให้นักศึกษาลงเรียนรายวิชาได้มากขึ้น ทำให้จบเร็วขึ้น

        เหมาะกับนักศึกษาที่ไม่ต้องการใช้เวลานานในการเรียนปริญญาตรี

        และยังช่วยประหยัดค่าครองชีพได้ 1 ปี จากเดิมที่ต้องเรียน 3 ปี ก็เหลือ 2 ปี

        นอกจากนี้ หลังเรียนจบ ป.ตรี แล้ว

        นักศึกษาสามารถลงเรียนต่อปริญญาโท สาขา Professional Accounting

        ใช้เวลาเรียน 1 ปี

        เท่ากับว่า หากนักศึกษาเรียนไม่ตกเลย ภายใน 3 ปี นักศึกษาสามารถเรียนจบได้ทั้ง ป.ตรี และ ป.โท

        นอกจากนี้ หากนักศึกษาท่านใด ภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรง ที่จะเรียน ป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษได้

        มหาวิทยาลัย มีหลักสูตรภาษาอังกฤษเตรียมความพร้อม ก่อนเรียนปริญญาตรีด้วย

        การสมัครเรียน ป.ตรี ที่นี่มีดังนี้

        1.  นร.ไทยจบ ม.6 ด้วยเกรดเฉลี่ย 2.7 ขึนไป

        2.  มีผลสอบ IELTS 6.0 / คะแนนย่อย ฟัง พูด อ่าน เขียน ไม่ต่ำกว่า 5.5

        หรือหากไม่มีผล IELTS ก็ขอสอบวัดระดับกับมหาวิทยาลัยได้ แล้วใช้ผลสอบของ ม.ยื่นแทน IELTS ครับ

        สนใจแนวทางนี้ติดต่อสอบถามกับ เรียนสิงคโปร์ดอทคอม ได้ครับ

        ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2016-06-14 15:51:20


ความคิดเห็นที่ 4 (3033208)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนวรรณ วันที่ตอบ 2016-06-14 22:10:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล